”อลงกรณ์“ชี้ประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะอับจนทางเศรษฐกิจเพราะรัฐบาลไร้แผนรับมือ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์อดีตรัฐมนตรีและส.ส.6สมัยโพสต์ในเฟสบุ๊ควันนี้แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศโดยชี้ว่า “ประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะอับจนทางเศรษฐกิจเพราะรัฐบาลไม่มีแผนรับมือที่ชัดเจนไม่มีแผนแม่บทในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจรวมทั้งแผนปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง ทั้งที่รัฐบาลทำงานมาเกือบปี ล่าสุดเพิ่งเรียกประชุม“ครม.เศรษฐกิจ”ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมาแต่ก็ไม่มีแผนหรือมาตรการใดๆออกมาอย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีสัญญาณชัดเจนว่าเศรษฐกิจกำลังทรุดหนักมาหลายเดือนแล้วเช่นตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้เติบโตเพียง 1.5 %ต่ำที่สุดในอาเซียนและต่ำกว่าปี2566ที่ขยายตัว 1.9 % ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI)น้อยกว่าอินโดนีเซีย7เท่า มาเลเซีย6เท่าและเวียดนามกว่า2เท่าโดยปี 2566 เอฟดีไอ.ไหลเข้าอินโดนีเซีย 21,701 ล้านดอลลาร์, มาเลเซีย 18,500 ล้านดอลลาร์, เวียดนาม 8,255 ล้านดอลลาร์ และไทย 2,969 ล้านดอลลาร์
เมื่อไม่มีการลงทุนใหม่ๆก็ไม่มีการจ้างงานเพียงพอต่อลูกหลานที่จบออกมาในแต่ละปี
ส่วนมูลค่าการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์สร้างรายได้หลักของประเทศก็โดนเวียดนามและมาเลเซียแซงหน้าไปแล้วโดยการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2567 มีมูลค่า 94,274 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่เวียดนามมีมูลค่า 123,928 ล้านดอลลาร์ และมาเลเซียมีมูลค่า 100,836 ล้านดอลลาร์สะท้อนถึงภาวะถดถอยของขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของไทย
นอกจากนี้เรายังมีปัญหาโคลนติดล้อ นั่นคือ“หนี้สาธารณะ” ณ 31 มี.ค. 2567 มีจํานวน 11,474,153 ล้านบาท คิดเป็น 63.67% ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาลกว่า 10,087,188 ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลยังมีแผนก่อหนี้เพิ่มขึ้นกว่าล้านล้านบาทในปีงบประมาณ2567-2568แต่ไม่มีแผนสร้างรายได้ที่จับต้องได้ “ประเทศต้องการการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวไปพร้อมๆกันโดยมีแผนและกลไกที่เป็นรูปธรรม รัฐบาลจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเดียวไม่ได้
ผมเคยเสนอนายกรัฐมนตรีให้หยุดหรือลดการเดินสายทั้งในและต่างประเทศลงบ้างแล้วหันมาจัดทำแผนแม่บทในการกอบกู้และปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนให้แล้วเสร็จแต่ก็ไม่ฟังกันจนเศรษฐกิจเริ่มชะงักงัน ถ้ารัฐบาลยังทำงานแบบที่ผ่านมา คนที่เดือดร้อนลำบากที่สุดคือประชาชนและประเทศไทยจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในการแข่งขันระดับโลกไม่สามารถก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางที่ติดหล่มมากว่า20 ปี“
Alongkorn pointed out that the country is going into economic poverty because the government has no plans to deal with.
Mr. Alongkorn Ponlaboot, Vice Chairman of the Strategy Committee of the Democratic Party, former Minister and MP.”The country is going into economic doldrums because the government has no clear countermeasures, no master plan for economic stimulus and reconstruction, and structural economic reform, despite the fact that the government has been working for almost a year, the cabinet has just convened.”Economy” first took place on May 27.C. But no concrete plan or measures have been coming out despite clear signs that the economy has been deteriorating for several months. For example, the 1Q10 GDP grew only 1.5 percent, the lowest in ASEAN and 1.9 percent, while FDI was 7 times less than Indonesia, Malaysia 6 times and Vietnam by 2566.Imports into Indonesia were $21.701 million, Malaysia $18.5 billion, Vietnam $8.255 million and Thailand $2.969 billion.
Without new investments, there is not enough employment for the children who graduate each year.
The country’s major revenue-generating engine exports were overtaken by Vietnam and Malaysia. In the first four months of 2024, Vietnam’s exports were valued at USD94.274 billion, while Malaysia’s exports were valued at USD123.928 billion and Malaysia’s USD100.836 million, reflecting Thailand’s deterioration in international trade competitiveness.
We also had a wheeled mud problem— the “public debt ” of March 31.In 2024, there were 11,474,153 million baht or 63.67% of GDP. The government’s debt was 10,087,188 million baht, while the government plans to increase debt by more than trillion baht in FY2014-2025, but there are no tangible plans for short-term and long-term solutions.
I had previously suggested that the Prime Minister should stop or reduce domestic and international routes somewhat, and that he had worked hard to establish a master plan for economic recovery and reform. People and Thailand will be left behind in the global competition and will not be able to get past the trap of middle-income countries that have been stranded for more than 20 years.”