มณฑลจี๋หลินพัฒนาตามนโยบายในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติของจีน
การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติของจีน สืบเนื่องมาจากการลงตรวจพื้นที่มณฑลจี๋หลินของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ค.๖๓ โดยได้มอบภารกิจสำคัญให้กับมณฑลจี๋หลินในการรักษาเสถียรภาพด้านอาหารของชาติ กล่าวคือ
๑. ให้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานการเกษตรให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงการเกษตรและพื้นที่ชนบทให้ทันสมัยและต่อสู้กับความยากจน
๒. ส่งเสริมความทันสมัยของการเกษตรและพื้นที่ชนบท โดยยึดมั่นในลำดับความสำคัญของการพัฒนาการเกษตรและชนบท ด้วยการเร่งสร้าง “ระบบหลัก ๓ ระบบ” ของการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งดำเนินการป้องกันดินดำในเชิงลึกและเร่งการสร้างพื้นที่เพาะปลูกที่มีมาตรฐานสูง ตลอดจนปรับปรุงกำลังการผลิตธัญพืชโดยรวม และสนับสนุนความแข็งแกร่งของมณฑลจี๋หลินในการปกป้องความมั่นคงด้านอาหารของชาติ
๓. ปัญหาของการเกษตรและเกษตรกรในชนบทเป็นปัญหาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศและการดำรงชีวิตของประชาชน ดังนั้น จะต้องทำให้การแก้ไขปัญหา “การเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกร” เป็นเรื่องสำคัญสูงสุดสำหรับงานของพรรคฯ โดย จำเป็นต้องกำหนดแนวนโยบายอย่างมั่นคงในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทให้ความสำคัญกับการจัดสรร “การเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกร” ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในการจัดสรรปัจจัยการพัฒนา “การเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกร” ให้ความสำคัญกับการรับประกันการลงทุน “การเกษตร พื้นที่ชนบท และเกษตรกร” และให้ความสำคัญกับการจัดบริการสาธารณะในชนบท รวมทั้งต้องเข้าใจกฎหมายและข้อกำหนดของการพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทที่มีลำดับความสำคัญอย่างยิ่ง ตลอดจนคุณลักษณะที่หลากหลายของเกษตรกรและคุณค่าที่หลากหลายของพื้นที่ชนบท
๔. การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ จำเป็นต้องดำเนินการสร้าง “ระบบหลักสามระบบ” (“三大体系”) ของการเกษตรสมัยใหม่ โดยจำเป็นต้องพัฒนาการเกษตรดิจิทัลอย่างจริงจัง โดยมีการส่งเสริมการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการเกษตรระยะยาว การเกษตรอัจฉริยะ และการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้ข้อมูลทางการเกษตรอย่างครอบคลุม โดยต้องส่งเสริมการบูรณาการการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด
๕. ต้องส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการของอุตสาหกรรมหลัก ทุติยภูมิและตติยภูมิในพื้นที่ชนบท โดยสนับสนุนให้เกษตรกรหางานด้วยการเริ่มต้นธุรกิจและขยายช่องทางในการเพิ่มรายได้จากธุรกิจการเกษตรใหม่ๆ เช่น ฟาร์มครอบครัวและสหกรณ์เกษตรกร ฯลฯ โดยให้ท้องถิ่นสำรวจรูปแบบความร่วมมือแบบมืออาชีพ ที่มีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขของท้องถิ่น โดยสร้างรูปแบบองค์กรที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานตามขนาดที่เหมาะสมในการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มทางการเกษตรเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://news.cnjiwang.com/jlxwdt/sn/202008/3196926.html
และเว็บไซต์ http://www.haixinews.com/system/2020/08/09/013222983.shtml
รวมทั้งเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/politics/leaders/2020-07/26/c_1126285626