กฎหมายสมรสเท่าเทียม ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ไทยจะถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กฎหมายสมรสเท่าเทียม ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ไทยจะถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการเปิดประตูแห่งความเสมอภาคทางเพศในไทยให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น
พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมาพร้อมสิทธิในการสมรสที่ครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้
1. สิทธิในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง คู่สมรส LGBTQIAN+ จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถจดทะเบียนสมรสในไทยและใช้สิทธิคู่สมรสได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมไปถึงในกรณีที่ต้องการหย่าร้างทั้งโดยสมัครใจหรือฟ้องหย่า ก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมเช่นกัน
2. สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกัน ช่วยให้คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถรับบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้ ต่างจากเดิมที่กลุ่ม LGBTQIAN+ จะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมได้เพียงคนเดียว เนื่องจากไม่ได้เป็นคู่สมรสกันตามกฎหมายเหมือนคู่ชายหญิง
สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ คู่สมรส LGBTQIAN+ ยังมีสิทธิรับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรสเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล และสิทธิประกันสังคม
3. สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส หากผู้ที่ได้รับมรดกเป็นคู่สมรส LGBTQIAN+ ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง คู่สมรสจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตจะถือเป็นทายาทโดยธรรมอันมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสที่เสียชีวิตได้ตามกฎหมายเช่นกัน
สิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน โดยคู่สมรส LGBTQIAN+ จะมีสิทธิในการบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งรวมไปถึงการถือครองอสังหาฯ อย่างบ้าน/คอนโดมิเนียมเช่นกัน
กฎหมายสมรสเท่าเทียม สาระสำคัญคือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรสในหลายมาตรา เพื่อรับรองสิทธิก่อตั้งครอบครัวจากเดิมที่จำกัดไว้เฉพาะชาย-หญิง เป็นบุคคลสองคนไม่ว่าเพศใดก็มีสิทธิจดทะเบียนสมรสกันได้ โดยแก้ไขรายละเอียดปลีกย่อยหลายประเด็น อาทิ
การหมั้น : บุคคลสองคนสามารถทำการหมั้นได้ แต่ปรับอายุขั้นต่ำสำหรับบุคลลที่จะทำการหมั้นได้จาก 17 ปี เป็น 18 ปีบริบูรณ์ กรณีที่ยังเป็นผู้เยาว์ มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หากจะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง
การสมรส : บุคคลสองคนสามารถสมรสกันได้ โดยปรับอายุขั้นต่ำที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้จาก 17 ปีเป็น 18 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นจะมีเหตุอันสมควร เช่น มีครรภ์ก่อนอายุ 18 ศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนนั้นได้ ทั้งนี้ กรณีที่ยังเป็นผู้เยาว์ มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หากจะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง
กฎหมายสมรสเท่าเทียม จะส่งผลต่อสิทธิหน้าที่ของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกัน เช่น การจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู สิทธิในการรับมรดกในฐานะ
ทอย่างไรก็ดี กฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศใช้แล้ว ก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ในทันที โดยในมาตรา 2 ของร่างกฎหมาย ระบุว่า ให้กฎหมายใช้บังคับเมื่อพ้น 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมายความว่า หากผู้ที่มีเพศกำหนดในทะเบียนราษฎรเป็นเพศเดียวกัน ประสงค์จะไปจดทะเบียนสมรส จะยังไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ทันทีในวันที่กฎหมายประกาศใช้ ต้องรอให้พ้นช่วง 120 วันไปก่อน ให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ จึงจะไปจดทะเบียนสมรสกันได้
สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของต่างประเทศนั้น ได้มีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เช่น
1) ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการออกรัฐบัญญัติที่ 2113-414 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 (ค.ศ. 2113) ว่าด้วยการสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย
2) ประเทศเยอรมนี โดยประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ลงนามในรัฐบัญญัติว่าด้วยการสมรสระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 (ค.ศ. 2117) มีผลเป็นการแก้ไขกฎหมาย จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่ง รัฐบัญญัติคู่ชีวิต รัฐบัญญัติว่าด้วยการแปลงเพศ รัฐบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งเพื่อรับรองสิทธิในการสมรสของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และ
3) ไต้หวัน โดยคำพิพากษาของสภาตุลาการของไต้หวัน ในคำวินิจฉัย ที่ 748 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 (ค.ศ. 2117) ได้วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายว่าด้วยการสมรสที่บัญญัติห้ามบุคคล 2 คน ซึ่งมีเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสนั้นขัดต่อหลักเสรีภาพของบุคคลในการสมรส และขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันของมนุษย์ อันเป็นหลักการที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญของไต้หวัน นอกจากนี้ สภาตุลาการยังมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีการตีความคำวินิจฉัยกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หลังจากนั้น จึงได้มีการออกรัฐบัญญัติว่าด้วยการบังคับใช้คำวินิจฉัยเลขที่ 748 ของสภาตุลาการ โดยมีลักษณะเป็นการออกรัฐบัญญัติแยกไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์[1]
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเป็นเหมือนบันไดนำพาคู่รัก LGBTQIAN+ ไปสู่สิทธิขั้นพื้นฐานในหลากหลายด้าน รวมไปถึงการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างการเปิดโอกาสในการกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาฯ ในฐานะคู่สมรส ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีหลายธนาคารที่จัดแคมเปญพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถกู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ร่วมกันได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศอีกต่อไป โดยส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดเบื้องต้นที่คล้ายคลึงกัน เช่น มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป, มีรายได้มั่นคง โดยมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม (บางธนาคารกำหนดให้ผู้กู้หลักมีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป) พนักงานประจำต้องมีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (บางธนาคารไม่มีกำหนด) ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, เปิดบัญชีเงินฝากร่วมกัน, รูปถ่ายงานมงคลสมรส หรือรูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริง ๆ เป็นต้น (บางธนาคารไม่มีกำหนด) ไม่เกิน 30-40% ของรายได้ มีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีบันทึกการเคลื่อนไหวบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน โดยวงเงินกู้ที่ได้รับอาจได้ 100% ตามที่ยื่นกู้หรือแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
ดังนั้น พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในไทย