การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับจังหวัด ในวันอาทิตย์ที่ 16 มิ.ย. 2567
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับจังหวัด เสร็จสิ้นลงในวันที่ 16 มิ.ย. 2567 โดยมีผู้สมัครเพียง 13% ที่จะได้ไปต่อระดับประเทศ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกระดับจังหวัด หลังการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อแล้ว จำนวน 23,561 คน โดยเป็นชาย 15,021 คนและเป็นหญิง 8,540 คน ซึ่งจำนวนผู้มารายงานตัวรอบแรก จำนวน 23,064 คน แยกเป็นชาย 14,743 คน เป็นหญิง 8,321 คน ส่วนจำนวนผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่มารายงานตัวรอบแรก จำนวน 497 คน แบ่งเป็นชาย 278 คนและเป็นหญิง 219 คน
การเลือกระดับอำเภอถือเป็น “ด่านสอง” ที่ผู้สมัคร สว. จำนวน 23,645 คน ซึ่งผ่านจากระดับอำเภอเข้าสู่ระดับจังหวัด จะต้องเข้ากระบวนการ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ และ “เลือกไขว้” กลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน ณ สถานที่เลือกที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดกำหนด เพื่อเฟ้นหาผู้ผ่านเข้าสู่สนามเลือกระดับประเทศต่อไป คนที่จะหลุดเข้ารอบสุดท้ายได้ ต้องมีคะแนนสูงสุด 2 ลำดับแรกของกลุ่มอาชีพรวม 20 กลุ่ม โดยจะมีผู้ผ่านเข้ารอบจังหวัดละ 40 คน หรือกลุ่มละ 154 คน เมื่อรวมทุกกลุ่มทุกจังหวัดทั่วไทยจะมีจำนวนสูงสุด 3,080 คน นั่นหมายความว่าจะมีผู้สมัครถึง 87% ต้องยุติบทบาทลง หลังจากผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดในรอบแรก การเลือกกันเองภายในกลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 7,000 คน ซึ่งเป็นชาย 4,861 คน และเป็นหญิง 2,139 คน หลังจากนั้นผู้อำนวยการเลือกระดับจังหวัดจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มิ.ย. จากนั้นในวันที่ 22 มิ.ย. ผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดต้องไปรับเอกสารแนะนำตัวที่จังหวัด
สำหรับผู้ได้รับเลือกเป็นสว.ระดับจังหวัดของกรุงเทพมหานครจาก 20 กลุ่มอาชีพรวม 40 คน ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ นายกฤษฎา เปี่ยมพงษ์สานต์ อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ,พลตำรวจตรีอรรถวิทย์ สายสืบ อดีตรองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1
กลุ่มที่ 2 กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม, พล.ต.ท.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มการศึกษาได้แก่ นายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นางฉันทนา หวันแก้ว อดีตรองคณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ 4 กลุ่มการสาธารณสุขได้แก่ นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย อดีตกรรมการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ,น.ส.วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพ
กลุ่มที่ 5 กลุ่มอาชีพทำนาและปลูกพืชล้มลุกฯ ได้แก่ นายเดชา นุตาลัย อุปนายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ,นายชูเกียรติ เลิศสุภานนท์ ผู้ออกแบบปลูกผักระบบไฮโดรโปนิกส์
กลุ่มที่ 6 กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ปศุสัตว์ ประมง ได้แก่ น.ส.สดใส โอมหานนท์ เกษตรกรสวนมะนาว ,นายสุชาติ ขวัญเกื้อ ทนายความและเจ้าของสวนทุเรียน
กลุ่มที่ 7 กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ นายแล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการด้านแรงงาน ,นายวีรเวท วงษ์กิจบัญชา อาจารย์สอนด้านนโยบายการเงินการคลัง
กลุ่มที่ 8 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค พลังงาน ได้แก่ นายวรุณ อุ่นเจริญพรพัฒน์ ที่ปรึกษาบริหารโครงการเอกชน ,นายปฏิมา จีระแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์
กลุ่มที่ 9 กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม ได้แก่ นายสมชาย สาโรวาท ประธานเครือข่ายพัฒนาศักยภาพไทย, นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร
กลุ่มที่ 10 กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9 ได้แก่ น.ส.พรีธาภัสสร์ วิชยกิตติ์ ประธานบริหารองค์กรส่งเสริมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยดั้งเดิมสู่สากล, นายสนั่น ขวัญเอื้อ เจ้าของกิจการอสังหาริมทรัพย์
กลุ่มที่ 11 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย ,น.ส.สุวณา ปิยะพิสุทธิ์ ประธานมูลนิธิสุวณาประชาสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ขาด
กลุ่มที่ 12 กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม ได้แก่ นายปิยะพงศ์เรืองรอง ผู้ชำนาญด้านเคมีอุตสาหกรรม ,นายวิวัฒน์ ทีฆะคีรีกุล ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทคาร์มาร์ท จำกัด
กลุ่มที่ 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ น.ส.ศิริวรรณ คูอัมพร กรรมการผู้จัดการบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ ,นายประเวทย์ ตันติสัจธรรม นายกสมาคมไทยบล็อกเชน
กลุ่มที่ 14 กลุ่มสตรีได้แก่ น.ส.สุกัญญา ประจวบเหมาะ สมาคมสตรีประธานสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ , น.ส.สุภาพร อัษฎมงคล นักกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรี
กลุ่มที่ 15 กลุ่มผู้สูงอายุคนพิการทุพพลภาพ ชาติพันธุ์ ได้แก่ นายสุเทพ สุริยะมงคล คน 6 ตุลา 19 ,นายอาณัฐชัย รัตตกุล เลขาธิการมูลนิธิลูกเสือโลก น้องชายนายพิจิตต รัตตกุลอดีตผู้ว่ากทม
กลุ่มที่ 16 กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา ได้แก่ น.ส.ภาวิณี สมรรคบุตร ฟอฟิ นักออกแบบศิลปะการแสดง ,น.ส.ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักแสดง
กลุ่มที่ 17 กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้แก่ น.ส.อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ , น.ส.แสงศิริ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
กลุ่มที่ 18 กลุ่มสื่อสารมวลชนผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมได้แก่ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส อดีตคณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก,น.ส.อัจฉรา อัชฌายกชาติ อดีตผู้สื่อข่าวหลายสำนัก
กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ นายพรชัย วิทยเลิศพันธ์ุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องศิลปะป๊อปคัลเลอร์, น.ส.กิตติมา เพ็งสุข เจ้าของตลาดนัดผู้ใหญ่อ้วน
กลุ่มที่ 20 กลุ่มอื่นๆได้แก่ นายธรรมนูญ ซึมโรจน์ประเสริฐ นักธุรกิจเพื่อสังคม,นายวราวุธ ตีระนันทน์ อุปนายกสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค
ทั้งนี้หลังการเลือกเสร็จสิ้นผู้อำนวยการการเลือกได้มีการปิดประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นสวระดับจังหวัดของแต่ละกลุ่มอาชีพ ซึ่งจะเข้าไปสู่การคัดเลือกสว.ระดับประเทศในวันที่ 26 มิ.ย.ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยจะต้องไปแข่งขันกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในระดับจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อคัดสรรให้ได้กลุ่มอาชีพละ 10 คนจากทั่วประเทศ
หากพบความไม่ชอบมาพากลหรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายผู้มีสิทธิ์เลือก สว. สามารถดำเนินการตามมาตรา 40 หากเห็นว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปด้วยกฎหมายสามารถยื่นต่อศาลฎีกาภายใน 3 วัน และศาลจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อนวันเลือก 1 วัน หากยังไม่มีคำพิพากษาก็ให้ดำเนินการเลือกต่อไป กรณีที่ศรีสะเกษตามที่ได้รับรายงาน มีตำรวจสันติบาลไปสังเกตการณ์ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในบริเวณสถานที่เลือกที่ให้พักสำหรับสังเกตการณ์ อาจมีการเข้าใจผิดว่าไปใช้สิทธิ์คุกคามด้วยการถ่ายรูปเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ท้ายที่สุดทั้ง 2 ฝ่ายไปตกลงกันและลงบันทึกประจำวันไว้ไม่ได้เอาเรื่องกันและกรณีการเลือกกรุงเทพมหานครมีกลุ่มกฎหมายทักท้วงระหว่างการดำเนินการ แต่เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วมาทักท้วง แล้วอ้างว่าตนเองควรได้คะแนนมากกว่านี้นั้นเป็นการคาดคะแนน ผู้สมัครสามารถทำแบบทักท้วงคัดค้านได้ และแม้จะมีการไปแจ้งความก็ไม่ส่งผลอะไร
ทางด้านกรณีที่ น.ส.พรรณิกา วานิช แกนนำคณะก้าวหน้าเปิดเผยถึงข้อมูลแพร่สะพัดว่าก่อนการเลือก สว. ระดับจังหวัด มีการจ่ายเงิน 20,000 – 30,000 ให้กับผู้สมัคร สว.นายแสวงกล่าวว่าข่าวก็คือข่าวข้อเท็จจริงก็ต้องตามหา ส่วนการให้รางวัลนำจับเบาะแสเกี่ยวกับทุจริตเลือกตั้งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้และให้ประชาชนมามีส่วนร่วม
สำหรับผู้ที่มีชื่อเสียงและผ่านเข้ารอบไปเลือกระดับประเทศ อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ลงสมัคร สว.ที่ จ.เชียงใหม่ นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย จ.ลำปาง นายสมเกียรติ ตันตระกูล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จ.ขอนแก่น นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ จ.อ่างทอง นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง จ.สระบุรี นางอังคณา นีลไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน กทม.นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายมงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง, พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีต ผบก.บุรีรัมย์, นายพรเพิ่ม ทองศรี อดีตหัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายอภิชาติ งามกมล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ นายภคพงศ์ ทวิพัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล อดีตรอง ผบ.ตร.และนายสมชาย สาโรวาท ประธานเครือข่ายพัฒนาศักยภาพไทย
สำหรับ “คนดัง” ที่ไม่ผ่านในการคัดเลือกระดับจังหวัด เช่น นายจักรพันธุ์ ยมจินดา อดีตผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ตกรอบแรก น.ส.นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน นายยุทธพิชัย ชาญเลขา นักแสดง นายสันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตนายตำรวจ เปิดเผยภายหลังไม่ผ่านการเลือกสว.รอบแรกในระดับจังหวัด ว่า มีการบล็อกโหวต เพราะบางคนไม่ได้รับเลือกและยังไม่เลือกตนเอง ทำให้ไม่ได้คะแนน ซึ่งการที่ตนตกรอบแสดงให้เห็นว่าตนมาแบบใสๆ ตั้งแต่ระดับอำเภอที่ตนลงในเขตปทุมวัน ที่ถูกบล็อกแต่พลาดมีคนให้คะแนน เมื่อเข้ามารอบสองทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ก็ถือว่าตนเข้ามาสมัครสว. ไม่ได้มาทำเพื่อตัวเอง และไม่ได้คาดหวังว่าจะเข้ามาเป็นสว. แต่ทำให้ประเทศชาติและระบอบการเลือกตั้ง ตรงตามเจตนาของรัฐธรรมนูญ