สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวสื่อมวลชนนานาชาติ ขอแสดงความเสียใจการถึงอนิจกรรมของ พล.อ.สำเภา ชูศรี‘ อายุ 82 ปี
ดร.โรจนศักดิ แสงธศิริวิไล นายกสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนนานาชาติ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง และร่วมไว้อาลัยต่อการถึงอนิจกรรมของ พล.อ.สําเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เสียชีวิตอย่างสงบด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อเวลา 13.10 น. ภายหลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567
ประวัติ พลเอกสำเภา ชูศรี
สำหรับประวัติ พล.อ.สําเภา ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 อายุ 83 ปี เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 1 จปร.12 เหล่าทหารปืนใหญ่ เพื่อนร่วมรุ่นพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี ก่อนเข้าศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยแซงชีร์ (Saint Cyr) กองทัพบกฝรั่งเศส โรงเรียนเสนาการทหารบก หลักสูตรหลักประจํา ชุดที่ 51 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6 (วปอ.6)
สำหรับตำแหน่งราชการที่สำคัญ คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ผบ.ปตอ.) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก(ผบ.นปอ.),ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก,รองผู้บัญชาการทหารบก ,รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารสูงสุด
หลังเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2534 ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ 22 มีนาคม 2539 สมาชิกวุฒิสภา ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา บมจ.มติชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา
ชื่อภริยา คุณหญิงธนวันต์ ชูศรี สกุลเดิม วิไลจิตต์
บุตร-ธิดา 1. นางสาวณัฐวดี ชูศรี
2. นายสำคัญ ชูศรี
การศึกษา
โรงเรียนสามัญ
โรงเรียนมัธยม ผดุงวิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2500
โรงเรียนทหาร
โรงเรียนเตรียมทหาร พ.ศ.2501
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.2503
โรงเรียนนายร้อยแซงซีร์ (Saint Cyr) กองทัพบก ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ.2504
โรงเรียนภาษาฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี)
โรงเรียนนายร้อยแซงซีร์ กองทัพบก ประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 2 ปี)
โรงเรียนทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ประเทศฝรั่งเศส (หลักสูตร 1 ปี)
โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารปืนใหญ่รุ่นที่ 13 พ.ศ.2513
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 51 พ.ศ.2514
กรมยุทธศึกษาทหารบก หลักสูตรเตรียมการสำหรับผู้บังคับหน่วย รุ่นที่ 1/27 พ.ศ.2527
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 6 พ.ศ.2536
ดูงานต่างประเทศ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกฝรั่งเศส
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเบลเยี่ยม
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเยอรมัน
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกอังกฤษ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกญี่ปุ่น
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเกาหลี
Amed Force University ไทเป
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกเวียดนาม
ยศทหาร
ร้อยตรี 1 ตุลาคม 2509
ร้อยโท 1 ตุลาคม 2511
ร้อยเอก 1 ตุลาคม 2514
พันตรี 1 ตุลาคม 2518
พันโท 1 ตุลาคม 2522
พันเอก 1 ตุลาคม 2525
พลตรี 1 ตุลาคม 2533
พลโท 1 เมษายน 2535
พลเอก 1 ตุลาคม 2539
ตำแหน่งรับราชการ
ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก 31 กรกฎาคม 2508
ผู้บังคับหมวดสื่อสาร กองร้อยบังคับการและบริการ 8 ธันวาคม 2509
กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 รักษาพระองค์
นายทหารคนสนิท ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง 12 กุมภาพันธ์ 2513
ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก 2 ตุลาคม 2514
นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 2 ตุลาคม 2514
รองผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 25 เมษายน 2516
หัวหน้าฝ่ายกำลังพล กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 26 ธันวาคม 2520
ผู้บังคับกองพันที่ 4 กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 31 มกราคม 2523
รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 23 เมษายน 2525
รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 2 ตุลาคม 2525
ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2 1 ตุลาคม 2527
รองผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 19 ตุลาคม 2531
ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 1 ตุลาคม 2533
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก 1 เมษายน 2535
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 1 ตุลาคม 2539
รองผู้บัญชาการทหารบก 1 ตุลาคม 2541
รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด 1 ตุลาคม 2542
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 1 ตุลาคม 2543
ราชการสงคราม/การปฏิบัติราชการพิเศษ
ปฏิบัติราชการพิเศษ ณ ประเทศที่สาม (SR-6) พ.ศ.2511
ปฏิบัติราชการสงคราม ณ สาธารณรัฐเวียดนาม พ.ศ.2512-2513
ปฏิบัติหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พ.ศ.2518-2519
ปฏิบัติราชการในเขตประกาศใช้กฎอัยการศึก 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ.2519-2520
ปฏิบัติราชการตามแผนป้องกันประเทศของกองทัพบก พ.ศ.2525
ประกาศใช้กฎอัยการศึก 23 กุมภาพันธ์ 2534 พ.ศ.2534
ปฏิบัติหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พ.ศ.2539-2542
ราชองครักษ์และนายทหารพิเศษ
ราชองครักษ์เวร 6 สิงหาคม 2524
ราชองครักษ์เวร 6 สิงหาคม 2528
ราชองครักษ์เวร 6 สิงหาคม 2533
ราชองครักษ์เวร 6 สิงหาคม 2536
ราชองครักษ์เวร 1 กันยายน 2538
ราชองครักษ์เวร 6 สิงหาคม 2539
ราชองครักษ์พิเศษ 1 สิงหาคม 2539
นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 1 30 ตุลาคม 2530 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษประจำกองพันทหารราบที่ 1 10 พฤศจิกายน 2530
กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ 22 มิถุนายน 2540
ตุลาการศาลทหาร
ตุลาการศาลทหารสูงสุด 2 พฤษภาคม 2540
สมาชิกรัฐสภา
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 15 มีนาคม 2534
สมาชิกวุฒิสภา 22 มีนาคม 2539
ราชการอื่น ๆ
นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา พ.ศ.2524-2544
นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.2542-2544
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เบญจมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2513
จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2515
จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2520
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2522
ตริตาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2526
ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2528
ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2530
ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ.2532
ประถมมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2534
มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ.2537
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ.2540
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ พ.ศ.2544
เหรียญราชอิสริยาภรณ์
เหรียญราชการชายแดน พ.ศ.2512
เหรียญชัยสมรภูมิ (เวียดนาม) ประดับเปลวระเบิด พ.ศ.2515
เหรียญจักรมาลา พ.ศ.2519
เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ 1) พ.ศ.2540
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อิสริยาภรณ์ และเหรียญตราต่างประเทศ
LA GRAND CROIX DE L’ORDRE ROYAL กัมพูชา พ.ศ.2544
DU SAGAMETREI
DARJAG UTAMA BAKIT CGEMERLANG (TENTERA) สิงคโปร์ พ.ศ.2544
DISTINGUISGED SERVICE ORDER (MILITARY)
DARJAG KEPAGLAWANAN ANGKATAN มาเลเซีย พ.ศ.2544
TENTERA MALAYSIA (KEGORMAT)
ชีวิตในครอบครัวครอบครัวที่อบอุ่น
ความอบอุ่นในครอบครัวจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความห่วงใยที่สมาชิกภายในครอบครัวพึงมีให้กัน และผู้ที่จะบอกเล่าถึงความอบอุ่นนี้ได้ดีที่สุดก็คงจะต้องเป็นคนที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดนั่นก็คือ คู่ชีวิต และลูก จากบทสัมภาษณ์ของคุณหญิงธนวันต์ ชูศรี ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2543 ชื่อคอลัมม์ว่า “บิ๊กเภาในมุมมองของหลังบ้าน พี่น้อย-ธนวันต์” ได้บอกเรื่องราวของชีวิตความอบอุ่นภายในครอบครัวในช่วงเวลาที่ผ่านมา คุณหญิงธนวันต์ เล่าว่า “ เรื่องราวของพี่กับพี่เภา เจอกันครั้งแรกที่คูแลนด์ ฝรั่งเศส ตอนนั้นพี่ไปเรียนต่อปริญญาที่นั่น ส่วนพี่เภาเขาไปเรียนนายร้อยแซงซีร์ที่ฝรั่งเศส หลังจากจบเตรียมทหารที่เมืองไทย เพราะพี่เภาเขาเก่งสอบได้ที่ 1 ของรุ่น จึงได้รับคัดเลือกไปเรียนนายร้อยที่ฝรั่งเศส
หลังจากนั้นประมาณกว่าปี จนกระทั่งพี่เรียนจบ มีเพื่อนมาชวนพี่ไปเที่ยวปารีสด้วยกัน โดยบอกว่ามีสารถีขับรถไปให้ ซึ่งปรากฏว่า สารถีคนนั้นก็คือพี่เภานั่นเอง และเราได้รู้จักกันอย่างเป็นทางการก็ครั้งนั้นจากการแนะนำของเพื่อนนับจากนั้นมาก็ติดต่อกันเรื่อย ๆ พี่น้อยกับบิ๊กเภาใช้เวบาคบหากันอยู่ราว 3 ปี ก็กลับมาแต่งงานที่เมืองไทย โดยแรก ๆ พี่น้อยก็ทำงานที่สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จนกระทั่งท้องลูกคนแรกจึงลาออกมาเป็นแม่บ้าน
กว่า 30 ปี ที่ใช้ชีวิตคู่มากับท่านผุ้บัญชาการทหารสูงสุด “พี่น้อย” บอกว่าได้รู้รสชาติของความเป็นนายทหารได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะกับ “พี่เภา” ที่จะไม่เอาเรื่องที่เป็นประเภทเดือดเนื้อร้อนใจมาให้กับที่บ้านได้รับรู้ จะรู้อีกทีก็ต่อเมื่อเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ยึดอำนาจจนปฏิวัติรัฐประหาร หลายต่อหลายครั้ง
ชีวิตที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา ของหลังบ้านท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุด น้อยคนที่จะรับทราบ เริ่มจากการ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในกองทัพของสามี พี่น้อยเล่าให้ฟังว่า “หลายคนอาจจะตื่นเต้น แต่สำหรับตัวของเราถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทำใจได้กับการขึ้น-ลงของชีวิตราชการของสามี ที่มีการเปลี่ยนแปลงในฐานะตำแหน่งที่พี่ถือว่าเป็น นิรันดร์ หลายครั้งที่สามีควรจะได้รับบำเหน็จจากความเหน็ดเหนื่อยในการทำงาน แต่ต้องพลาดหวังและบ่อยครั้งที่ได้รับรางวัลแห่งการทำงานโดยไม่คาดคิด ดังนั้นการเป็นภริยาของนายทหาร จึงต้องทำใจกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะดีหรือร้ายได้ตลอดเวลา” กับหน้าที่ของสตรีหมายเลข 1 ของกองทัพ “พี่น้อย” ว่าไม่ทำให้ชีวิตส่วนตัวสูญหายไปไหน ทุกอย่างยังเหมือนปกติ งานสังคมในฐานะนายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุดที่มีก็ออกไปทำงานสาธารณกุศลต่าง ๆ ทำมาเป็นประจำอยู่แล้วจนเป็นความเคยชิน และเพราะชีวิตที่เป็นอยู่อย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร จึงไม่มีความรู้สึกแปลกอะไรกับการขึ้นสู่ตำแหน่งบทบาทผู้นำแม่บ้านของกองทัพ
“ส่วนเรื่องภายในครอบครัว “พี่เภา” เขาจ้ำจี้จ้ำไชเรื่องเที่ยวของลูก ๆ ไม่ให้ออกนอกกรอบ เขาไม่ตีลุก ซึ่งเขาบอกว่าไม่ใช่วิธีการของเขา และก็ไม่เป็นคนเจ้าระเบียบเท่าไหร่ อยู่อย่างง่าย ๆ ส่วนพี่จะเป็นคนที่ดูแลความเรียบร้อยภายในบ้านทั้งหมด โดยเฉพาะการทำอาหารนั้นชอบมาก “พี่เภา” เขาชอบน้ำพริกมาก น้ำพริกธรรมดานี่แหล่ะ เป็นคนทานอาหารง่าย ๆ
กว่า 30 ปี ของการปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านที่สมบูรณ์แบบ คอยดูแลเอาใจใส่ครอบครัวทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ อาหารการกิน การเลี้ยงดูลูกๆ 2 คน คือ คุณณัฐวดี หรือคุณกู๊ด ซึ่งได้มีครอบครัวไปแล้ว สำหรับคุณสำคัญ หรือ คุณอาร์ม ขณะนี้ก็ได้ทำงานเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่ใจรัก จึงกล่าวได้ว่าเป็นความลงตัวของรูปแบบครอบครัวที่เพียบพร้อมไปด้วยความรัก ความอบอุ่นที่มีให้กันอย่างแท้จริง ตามพระราชประเพณี ในวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคมของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าลำดับชั้นต่าง ๆ แก่ข้าราชบริพาร และผู้ทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ซึ่งในปีนี้ นอกจากท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะได้รับพระราชทานเรื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงขึ้นในชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษแล้ว คุณธนวันต์ ชูศรี ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จตุตถจุลจอมเกล้า” เป็นคุณหญิงธนวันต์ ชูศรี นับเป็นสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุดแก่ครอบครัว
สมาชิกของครอบครัวอีกท่านหนึ่งที่จะกล่าวถึงก็คือ บุตรชายคนเล็กที่มีความใกล้ชิดกับคุณพ่อเป็นพิเศษ คุณสำคัญ ชูศรี หรือคุณอาร์ม ได้เล่าถึงความรู้สึกของลูกที่มีต่อคุณพ่อ ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด “ตั้งแต่เด็ก ๆ มาแล้ว ไม่เคยโดนคุณพ่อตี หรือดุว่า ถ้าโกรธท่านจะนิ่งเงียบ ซึ่งลูก ๆ ทุกคนจะรู้ทันทีว่าคุณพ่อโกรธ และจะไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ชอบ ความที่ท่านเป็นคนนิ่ง และใจเย็นมาก เคยมีลูกน้องมาพูดให้ฟังว่า ถ้าใครถูกคุณพ่อดุก็ให้ไปบวชได้เลย”แม้ว่าจะได้เข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหารถึง 2 ปี ตามแนวทางการศึกษาเช่นเดียวกับคุณพ่อ แต่ด้วยความที่เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีความคิดที่เป็นของตนเอง จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษาสู่วิชาชีพที่ตนเองรักและถนัด เมื่อออกจากโรงเรียนเตรียมทหาร จึงได้เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
คุณอาร์ม เล่าว่า “ในเรื่องของการเรียน คุณพ่อจะไม่กำหนดกฎเกณฑ์หรือบังคับ อยากเรียนอะไรก็เรียนไปเลย แต่จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำ คุณพ่อจะให้ความรักลูกเหมือน ๆ กัน แต่ตัวพี่กู๊ดจะเป็นผู้ใหญ่กว่าและจะเป็นคนเฉย ๆ คุณพ่อจะคอยห่วงใยอยู่ห่าง ๆ หากมีอะไรก็จะฝากให้คุณแม่ช่วยเตือน แต่ท่านจะไม่เตือนด้วยตัวท่านเอง”
“ครอบครัวเราไม่เคยอยู่บ้านหลวง คุณพ่อบอกว่ายังมีคนที่เขาไม่มีบ้านอยู่อีกเยอะ ช่วงที่ท่านมียศพันเอกก็ยังพอมีเวลาพาลูก ๆ ไปเที่ยวต่างจังหวัดบ้าง แต่พอตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้นท่านก็มีเวลาน้อยลง โดยเฉพาะเมื่อข้ามฟากจากองทัพบก มาอยู่ที่กองบัญชาการทหารสูงสุด งานกลับมีมากขึ้นอีก คุณพ่อจะทำงานตั้งแต่เช้าถึงดึก ๆ ทุกวัน เวลาพักผ่อนน้อยลง โดยเฉพาะเมื่อคุณพ่อต้องมารับผิดชอบงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งถือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญที่สุดของกองทัพในขณะนี้ เนื่องจากภารกิจตรงนี้มีความสำคัญ มีความซับซ้อน มีทั้งผู้ที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ อีกประการหนึ่ง คุณพ่อปฏิเสธการที่จะต้องมี รปภ. ติดตามตัว ท่านบอกว่าท่านไม่เคยมีศัตรู และท่านก็ไม่กลัวอะไร แต่ก็อดที่จะห่วงท่านไม่ได้ เวลาว่างส่วนใหญ่ของคุณพ่อ ท่านจะชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ทุกฉบับ เพื่อติดตามข่าวสารบ้านเมือง กีฬาที่ท่านชอบ ก็คือกอล์ฟ การแต่งตัวก็จะเรียบง่าย ท่านไม่เคยกำหนดว่าจะต้องเป็นชุดนั้น ชุดนี้ สีนั้น สีนี้ เพียงแต่ดูให้เหมาะสมกาลเทศะก็เพียงพอแล้ว”
ย้อนอดีตศิษย์เก่าอาจารย์ผดุง
พลเอก สำเภา ชูศรี เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2484 บิดาชื่อ แพ มารดาชื่อ ผัน กำเนิด ที่ตำบลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากอาศัยอยู่บ้านแพริมน้ำ บิดามารดามีอาชีพล่องเรือค้าขาย ท่านจึงมีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับ เรือ แพ และท้องน้ำมาโดยตลอด
อาจารย์ผดุง สุวานิช อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้กับท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุดตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ท่านได้กรุณาเล่าเรื่องราว ชีวิตในวัยเด็กของ เด็กชายสำเภา ชูศรี ให้ฟังว่า “สมัยนั้น การเดินทางจากอำเภอเสนา จะเข้ากรุงเทพฯ ต้องอาศัยเส้นทางทางเรือเพียงเส้นทางเดียว บิดามารดาของเด็กชายสำเภา ชูศรี ซึ่งมีอาชีพค้าขาย รับซื้อของจากอำเภอเสนา ล่องเรือไปที่อำเภอผักไห่ จะออกเรือแต่เข้าตรู่เป็นประจำทุกวัน กว่าจะกลับถึงบ้านก็เป็นเวลาค่ำ เด็กชายสำเภา ชูศรี จะทำหน้าที่ช่วยเหลือมารดา ดูแลบ้านเตรียมหุงหาอาหารก่อนมารดาจะกลับบ้าน ดังนั้นเมื่อเลิกเรียนตอนเย็นก็จะรีบตรงกลับบ้าน ไม่เคยออกนอกทางไปไหน นอกจากท่านจะทำหน้าที่บุตรที่ดีแล้ว ท่านก็ยังทำหน้าที่ศิษย์ที่ดีของอาจารย์อย่างสม่ำเสมอด้วย ทุ่มเทจิตใจให้กับการศึกษา หาความรู้ เล่าเรียนอย่างจริงจัง มีความขยันหมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง”
“โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา เดิมใช้พื้นที่ศาลาวัดบ้านแพนเป็นที่สอนหนังสือ เด็กนักเรียนยังมีไม่มากนัก ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายครอบครัวอพยพหนีภัยสงครามมาอยู่ที่บ้านแพน มีนักเรียนมากขึ้น จึงต้องย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ใหม่ และก็ได้มีการพัฒนาระดับการศึกษาสูงขึ้นจนถึงระดับอาชีวะศึกษาในปัจจุบัน” “ในวัยเด็กของ เด็กชายสำเภา ชูศรี นอกจากจะขยันเล่าเรียนหนังสือแล้ว ยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด ท่านเคยร่วมแสดงละครกับเพื่อน ๆ ถึง 2 ครั้ง เพื่อหาเงินสร้างสะพานให้กับชุมชน และหาเงินซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้กับทางศึกษาจังหวัด”
“ความโดดเด่นในลักษณะผู้นำของท่านนั้น นอกจากจะเป็นหนึ่งในด้านการเรียนแล้ว ท่านยังเป็นตัวอย่างของการเป็นนักเรียนที่ดี โดยจะเตรียมดูหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อนที่อาจารย์จะสอนเสมอ พออาจารย์สอนก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้นำกลุ่มผลักดันให้เพื่อนในกลุ่มมีความขยันหมั่นเพียรเช่นเดียวกับท่าน จนทำให้กลุ่มของท่านเป็นที่หนึ่งมาตลอด ด้วยความที่เป็นคนที่มีความตั้งใจจริงในการเยนมีจิตใจโอบอ้อมอารี ต่อเพื่อน ๆ มีความเอื้ออาทรต่อคนรอบข้าง จึงทำให้เป็นที่รักของเพื่อนฝูงและครูอาจารย์”
ความที่เป็นคนรักการเรียนเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อจบการศึกษาก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ หวังที่จะเล่าเรียนต่อที่ใดที่หนึ่ง และก็ด้วยความโชคดีที่ได้พบนักเรียนรุ่นพี่มัธยมผดุงวิทยา พลตรีประเสริฐ กิจพจน์ ซึ่งได้แนะนำให้ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและท่านก็สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารได้สมความตั้งใจ และในขณะที่เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนเตรียมทหารท่านก็ตั้งใจเล่าเรียน ดำรงความเป็นที่หนึ่งของชั้นเรียนมาโดยตลอด จนกระทั่งจบเตรียมปีที่ 2 เข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในชั้นปีที่ 1 ผลปลายปีก่อนจะขึ้นชั้นปีที่ 2 ก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยแซงซีร์ ประเทศฝรั่งเศส
ความประทับใจที่อาจารย์ผดุง ได้เล่าให้ฟังเรื่องหนึ่งก็คือ จดหมายจากนักเรียนและภาพถ่ายถึงครูบ้านนอก เมื่อครั้งที่ท่านไปเรียนที่ฝรั่งเศส ท่านได้มีจดหมายถึงอาจารย์เล่าเรื่องของประเทศฝรั่งเศสให้ฟัง โดยเฉพาะในตอนท้านของจดหมายที่บอกว่า “……. ถ้าอาจารย์ต้องการอะไร หรือจะใช้ผมในเรื่องที่เกี่ยวกับฝรั่งเศส ถ้าผมทำได้ผมจะช่วยทำให้ จนสุดความสามารถของผม …….” เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้วก็อดที่จะซาบซึ้งในความมีน้ำใจ และยังระลึกถึงครูอาจารย์ อยู่เสมอ
อาจารย์ผดุง ยังเก็บจดหมายทุกฉบับที่ลูกศิษย์เขียนถึง และยังนำไปใช้ประโยชน์ให้กับนักเรียน ได้ศึกษาเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นอีกด้วย พอจบกลับมาแล้วหลายปีกว่าจะได้พบปะกัน ซึ่งก็คงจะเป็นเพราะหน้าที่การงาน แต่ท่านก็ไม่เคยลืม ครู อาจารย์ ไม่เคยลืมโรงเรียน จนกระทั่งเมื่อดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ปตอ. ได้มีการจัดงานเลี้ยง รุ่นกันที่ร้านอาหารศรแดง ท่านได้มาร่วมงาน พูดคุยเฮฮากับเพื่อน ๆ อย่างสนุกสนานเป็นกันเอง เพื่อนร่วมรุ่นทั้งหมดต่างพร้อมใจกันมอบตำแหน่งนายกสมาคมโรงเรียนผดุงวิทยาให้แก่ท่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน แม้ท่านจะไม่มีเวลาว่างไปประชุม แต่ทุกคนก็ยังคงให้ความไว้วางใจ เนื่องจากท่านจะให้การช่วยเหลือเกื้อกูล ทางโรงเรียนในด้านต่าง ๆ อย่างไม่เคยขาดตกบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทุนการศึกษาของนักเรียนที่เรียนดี การมอบอาคารสมาคมโรงเรียนส่วนหนึ่งให้ใช้เป็นห้องสมุดเพื่อเด็ก ๆ จะได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ช่วยการศึกษาเพิ่มเติมให้อีกด้วย
อาจารย์ผดุงเล่าว่า “นอกจากท่านจะเป็นคนที่มีความกตัญญูกตเวทิตาแล้ว ท่านยังเป็นคนใจบุญสร้างกุศลให้กับวัดวาอารามในบริเวณใกล้เคียง นอกจากจะจัดหาทุนสร้างโรงเรียนปริญัตติธรรม สร้างพระพุทธรูป ให้กับวัดสามกอ อำเภอเสนา แล้วยังจัดสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านภาคภูมิใจมาก สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสแวะเยี่ยมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิ่งแรกที่ท่านจะปฏิบัติประจำก็คือ จะต้องไปกราบอัฐิของบิดา มารดาก่อน แล้วจึงจะไปทำกิจธุระอื่น ๆ” ความภาคภูมิใจของอาจารย์อีกประการหนึ่งที่มีต่อศิษย์ท่านนี้ก็คือ พลเอก สำเภา ชูศรี คือลูกเสนาคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด อาจารย์จะยกเป็นตัวอย่างให้กับนักเรียนรุ่นหลังของโรงเรียน ยึดถือเป็นแบบอย่างในความขยันหมั่นเพียร ศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง ทุกครั้งที่ท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุดเดินทางมาเยี่ยมโรงเรียน เด็ก ๆ จะตื่นเต้นดีใจ ตั้งแถวต้อนรับอย่างพร้อมเพรียงกัน ท่านจะทักทายเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง เสมือนว่าท่านคือญาติ ทุนสุขรังสรรค์คือทุนที่ท่านนำมามอบให้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะเป็นดอกผลจากเงินของสมาคม นอกจากจะมอบทุนแล้ว ท่านยังมอบเกียรติบัตร โดยจะเซ็นชื่อของท่านในใบเกียรติบัตร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับเด็กนักเรียนที่เรียนดีอีกด้วย
ตลอดช่วงชีวิตในวัยเด็กของท่านนั้น ท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ มีความกตัญญูกตเวทิตาเป็นที่ตั้ง เป็นผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม กุศลแห่งคุณงามความดีเหล่านี้ จึงส่งผลให้ชีวิตของเด็กชายสำเภา ชูศรี ก้าวสู่การเป็น พลเอก สำเภา ชูศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้นำกองทัพไทยได้อย่างสมเกียรติ สมศักดิ์ศรี ในฐานะ “คนดีศรีอยุธยาโดยแท้จริง”
สัมภาษณ์อาจารย์ ผดุง สุวานิช อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544
ขออขอบคุณสื่อทุกท่าน ที่ได้ขอนำภาพมาประกอบการนำเสนอข่าว
https://thailandtoday2020news.blogspot.com/p/blog-page_1.html