นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศรัฐบาลรักษาการ เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าและสมาชิกอาเซียนประชุม เพื่อหารือแผนสร้างสันติภาพในพม่า
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ได้ส่งจดหมายเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมาร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนสัญญาสันติภาพเมียนมาอย่างไม่เป็นทางการ ทั้งที่จะมีการประชุม Track 1.5 ที่รวมรัฐมนตรีอาเซียนและฝ่ายวิชาการของกระทรวงมีกำหนดการประชุมครั้งที่ 3 ที่ลาว แต่การกระทำของรัฐบาลรักษาการนี้ ส่งสัญญาณการยอมรับรัฐบาลทหารพม่าโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้บรรดาประเทศอาเซียนอื่นปฏิเสธกันทันที เพราะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแตกแถวจากสิ่งที่อาเซียนตกลงหลักการกันไว้ และพยายามสร้างการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในอาเซียนโดยตรง
นายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้เหตุผลในการเป็นเจ้าภาพจัดการเจรจาหารือที่มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมกับทหารพม่าอีกครั้ง โดยระบุว่าการเจรจาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปกป้องพรมแดนที่ติดกับประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แม้ว่านักการทูตระดับสูงของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะไม่เข้าร่วมก็ตาม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การต่างประเทศ เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนสันติภาพเมียนมา แต่ปรากฏว่า มีหลายประเทศไม่เข้าร่วม เรื่องนี้เป็นการแก้ปัญหาของอาเซียน เราก็จำเป็นจะต้องพูดคุย ที่ผ่านมา เราก็ดำเนินการตามนโยบายของเรา คือ การปฏิบัติตามมติของอาเซียนอย่างครบถ้วนตามเรื่องภายในของเมียนมา อย่างไรก็ตามปกติของอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่แล้ว เรามีมติเป็นเอกฉันท์ในทุกๆ ครั้ง มีหลายอย่างที่เข้ามาสู่อาเซียน ทั้งนี้ เราก็ต้องทำอาเซียนของเราให้ปลอดภัย
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประเทศประธานอาเซียน ส่งจดหมายที่ โดยตรงนายนายดอน ปรมัตถ์วินัย ว่ากระทำการไม่เหมาะสมในเรื่องนี้ รวมถึงจดหมายจากรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ที่ปฏิเสธไม่มาและบอกว่า มึนงงกับความเห็นของนายดอนที่ยืนยันไม่มีเสียงคัดค้านอย่างชัดเจนต่อข้อเสนอแนะของรัฐสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 เมื่อเดือนที่แล้วว่าถึงเวลาแล้วที่อาเซียนจะต้องกลับมามีส่วนร่วมกับรัฐบาลพม่าอย่างเต็มที่ในระดับผู้นำอีกครั้ง เพราะในความเป็นจริง ผู้นำหลายคน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์คัดค้านข้อเสนอแนะให้เข้าร่วมกับสภาบริหารแห่งรัฐพม่า (SAC) เนื่องจากขาดความคืบหน้าที่สำคัญและรัฐบาลทหารพม่าไม่เคารพหลักการคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ 5 ข้อ และไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ควรให้เกียรติกับประชาชนชาวพม่าที่กำลังต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่า
ด้านนายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เห็นว่า การที่รัฐบาลริเริ่มกระทำเรื่องดังกล่าวในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจากจะกระทบกับนโยบายต่างประเทศที่ผูกพันกับไทยในอนาคต ซึ่งรัฐบาลในอนาคตอาจมีนโยบายต่างประเทศไม่เหมือนกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย ก็ได้ และนักการทูตส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จในการางประเทศที่ผ่านมา และทำให้ภาพลักษณ์ทางการทูตไทยตกต่ำในรอบหลายปี นายดอน ปรมัตถ์วินัย จึงควรยุติบทบาทใดๆ ในช่วงรักษาการโดยทันที