นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้แจงในประเด็นหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้นใจความว่า คลื่นไอทีวีที่ถูกบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงาน เมื่อ 7 มี.ค.2550 ทำให้ไม่สามารถใช้คลื่นเพื่อประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์หรือกิจการโทรคมนาคมได้จนถึงปัจจุบัน จนคลื่นดังกล่าวส่งมอบต่อให้ TPBS ตามกฎหมาย พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และสถานะคลื่นไอทีวีสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.2550 เป็นต้นมา จนมูลค่าหุ้นก็ต่ำลงจนไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และต่อมาศาลแต่งตั้งให้ตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาได้รับมอบหมายจากทายาท ให้ถือครองไว้แทนทายาทอื่น จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการตีความการถือหุ้นของผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งในข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่า ITV ไม่ได้เผยแพร่ออกอากาศตั้งแต่ยกเลิกสัญญาวันที่ 7 มี.ค.2550 โดยให้ข้อสังเกตว่าปัจจุบันกลับมีความพยายามที่จะฟื้นคืนชีพให้ ITV กลายเป็นสื่อมวลชนเพื่อนำมาใช้เล่นงาน
พร้อมหยิบยกข้อมูลนำส่งงบของ ITV บัญชีปี 2561 ถึง 2562 ที่ประเภทธุรกิจว่า กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก และในบัญชีธุรกิจปี 2563 ถึงปี 2564 ระบุประเภทธุรกิจว่า สื่อโทรทัศน์ โดยในส่วนสินค้าบริการระบุว่า ปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากติดคดีความ ขณะที่บัญชีในปี 2565 ระบุประเภทธุรกิจว่าสื่อโทรทัศน์ โดยในส่วนสินค้าบริการระบุว่า สื่อโฆษณาและผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเนื้อหาหมายเหตุงบการเงินไม่ปรากฏรายได้จากกิจการสื่อโทรทัศน์และสื่อโฆษณาแต่อย่างใด และงบการเงินบัญชีปี 2565 มีการนำส่งเงินต่อ DBD ก่อนวันเลือกตั้ง 4 วัน คือ ในวันที่ 10 พ.ค.2566
นายพิธา ระบุว่า แสดงให้เห็นว่าในการจัดทำแบบนำส่งงบการเงินและข้อมูลในหมายเหตุประกอบกลับงบการเงินมีความไม่สอดคล้องกัน ถ้าเป็นข้อพิรุธมีการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ระบุในแบบนำส่งงบการเงินจากเดิม “กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก” แก้เป็น “สื่อโทรทัศน์” ทั้งที่ ประกอบกิจการไม่ได้และล่าสุดแก้เป็น “สื่อโฆษณาและผลตอบแทนจากการลงทุน” ทั้งที่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน รายได้จากดอกเบี้ยและการลงทุนในตราสารหนี้ วิเคราะห์พิรุธหลายอย่างนายพิธาตัดสินใจหารือกับทายาทที่ได้รับถือครองหุ้นไว้แทนจนได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะมีการจัดแบ่งมรดกหุ้นดังกล่าวให้ทายาทอื่นไปโดยสิ้นเชิงเพื่อป้องกันปัญหาจากกระบวนการฟื้นคืนชีพความเป็นสื่อมวลชนให้กับบริษัท ITV และมั่นใจมากก่อนที่จะโอนหุ้น ITV บริษัท ITV ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชนใดใด และการโอนหุ้นไม่ใช่เป็นการโอนเพราะหลีกหนีความผิดแต่อย่างใด
ล่าสุดสำนักข่าวอิศราเสนอข่าวมีขบวนการเปลี่ยนแปลงข้อความในแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) บมจ.ไอทีวี เพื่อฟื้นคืนชีพความเป็นสื่อของไอทีวี (ในปี 2563-2565 เปลี่ยนการระบุประเภทธุรกิจเป็น “สื่อโทรทัศน์”) ถ้าเจาะดูเนื้อหาในคอลัมน์ ‘ประเภทธุรกิจ’ ที่ระบุในจากข้อมูล แบบนำส่งงบการเงิน
– ปี 2558 – 2559 ระบุ ไม่ได้ประกอบกิจการผลตอบแทนจากเงินลงทุน,ดอกเบี้ยรับ
– ปี 2560 – 2562 ระบุ กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก
– ปี 2563-2564 ระบุ ประเภทธุรกิจ ‘สื่อโทรทัศน์’ ช่อง ‘สินค้า/บริการ’ ระบุ ‘ปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากติดคดีความ’ ช่อง ‘ร้อยละของรายได้รวม’ ระบุ “100%”
กระทั่งปี 2565 ประเภทธุรกิจ ระบุ ‘สื่อโทรทัศน์’ ช่อง ‘สินค้า/บริการ’ ระบุ ‘สื่อโฆษณาและผลตอบแทนจากการลงทุน’ และ ช่อง ‘ร้อยละของรายได้รวม’ ระบุ “100%” เห็นได้ว่า
1.จาก ‘ไม่ได้ประกอบกิจการ’ มาเป็น ‘สื่อโทรทัศน์’ สื่อโฆษณาและผลตอบแทนจากการลงทุน มีรายได้ 100% ในปัจจุบัน
2. บริษัท ไอทีวี นำส่งงบการเงินประจำปีระหว่างเดือน เม.ย. -พ.ค. มาโดยตลอด ยกเว้นงบการเงินรอบปี 2562 ที่นำส่งในเดือนสิงหาคม 2563 การที่ บริษัท ไอทีวี นำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี 2565 ต่อ DBD (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ก่อนวันเลือกตั้งเพียง 4 วัน ในความเป็นจริงในขณะนั้นยังไม่มีการเลือกตั้ง และพรรคก้าวไกลยังไม่ชนะการเลือกตั้ง การที่กล่าวอ้างว่าการส่งแบบนำส่งงบการเงินก่อนการเลือกตั้งเป็นข้อพิรุธ เป็นไปได้หรือไม่?
ทั้งนี้ แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) เป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบพิจารณาคดีหุ้นสื่อของศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยว่าบริษัทที่บุคคลถูกกล่าวหาในคดีถือหุ้นสื่อ ประกอบกิจการสื่อมวลชนหรือไม่
ขอขอบคุณข้อมูลที่นำเสนอจาก สำนักข่าวอิศรา
https://www.isranews.org/article/isranews/119122-inves0999-15.html