วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 กลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม ตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคประชาชน แห่งที่ 3 จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับชีวิตของประชาชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อย เป็นกิจกรรมเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องจาก นางจิ๋ม พูลสุข สมาชิกกลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม ได้ให้ใช้ที่ดิน ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 5 ไร่ และอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่หมู่ 10 ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้กลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม ใช้ในการดำเนินงานขยายเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน เข้าสู่ครัวเรือนในชุมชน และเป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือ ผู้สูงอายุป่วย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อย ในด้านตะวันออก ซึ่งกลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม จะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และนายราชัน วิจิตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 10 ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านคือ นายสรพงษ์ ชลวานิช และนายชูเกียรติ กำจัดภัย ได้มาร่วมเป็นเกียรติในการเปิดศูนย์ดังกล่าวด้วย
ที่ผ่านมาทุกท่าน ได้ให้ความช่วยเหลือ ผู้สูงอายุป่วย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้มีรายได้น้อย ด้วยความห่วงใยซึ่งกันและกัน เกื้อกูล และแบ่งปันตลอดมา ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยให้ร่วมกันช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมด้วยความอบอุ่น มีความสุข ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นเพื่อนที่ดีทางสังคม ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมนี้ได้มอบผักสวนครัวจากการขยายเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความห่วงใยและให้กำลังใจ คณะผู้ใหญ่บ้าน ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของปวงประชาสืบไป นายราชัน วิจิตร ผู้ใหญ่บ้าน และคณะได้ร่วมกับกลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม มอบสิ่งของอุปโภคบริโภคให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ และกลุ่มจิตอาสาเพื่อสังคม ได้มอบหมายให้ นายวุฒิ ส่องสว่าง ซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่ผู้ดูแลศูนย์ดังกล่าว