คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th National Conference on Science and Technology,NCOST)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 The 8th National Conference on Science and Technology, NCOST) และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2 (The 2nd International Conference on Science and Technology, INCOST) เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2567 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เจษฎา จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ เป็นประธานในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงานทุกท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ ศาสตราจารย์ Nitin Kumar Tripathi คุณ กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ Dr.Yu Wah Thein ท่านธนิฎา ไตรวรานนท์ พลตำรวจโท ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ดร.พรรษชล บุญคง ท่าน ธราภรณ์ พรหมคช อ.วราภรณ์ บุตรจันทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัชรินกร เมฆลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวุฒิ ตุ้มทอง นายสัตวแพทย์ สถิตย์ อรุณแสง ดร. สัมพันธ์ สุกใส ท่านเอกวิศว์ สงเคราะห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุมพต พุ่มศรีภานนท์ และดร.โรจนศักดิ แสงธศิริวิไล ร่วมงานในครั้งนี้
นอกจากนี้การจัดประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 8 ทางคณะเชิญวิทยากรที่สำคัญ ประกอบด้วย ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.), Prof. Nitin Kumar Tripathi Professor of Geoinformatics Remote, Dr.Yu WahThein Associate Professor and International Relations Officer at Mandalay Technological University, และดร. กริช อึ้งวิฑูรย์สถิต, ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา ร่วมเสวนาในงานดังกล่าว และปีนี้งานประชุมวิชาการยังคงมุ่งเน้นถึงการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสอดคล้องตามพันธกิจของคณะฯ ในเรื่องของการผลิตผลงานทางวิชาการและนวัตกรรมที่พร้อมใช้สู่สังคม อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนเพื่อขัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยความพิเศษของการประชุมวิชาการในปีนี้ นอกจากจะมีการหยิบยกประเด็นสำคัญต่างๆ ที่สอดรับโดยตรงต่อแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ ผ่านการบรรยายในหลากหลายหัวข้อแล้วนั้น ยังมีการเชิญชวนคณาจารย์ พร้อมทั้งนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทุบรี เพื่อเข้าร่วมประกวดผลงานทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อตอบรับเป้าประสงค์หลักในการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการศึกษาทุกระดับ และเพื่อลดรอยต่อระหว่างการศึกษาในระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา และเป็นเวทีในการร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการของนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ